หนังสือ “จ้าวแผ่นดิน” เขียน โดย วิมล ไทรนิ่มนวล และยังผ่านเข้ารอบสุดท้ายใน
การประกวดซีไรท์เมื่อปี 2540 อีกด้วย
ผมเพิ่งได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้ เมื่อไม่นานมานี้ (10-09-2561) แต่สำหรับท่านที่เคยอ่านงานเล่มก่อนหน้านี้ของ
วิมล ไทรนิ่มนวล อย่าง “งู”
ซึ่งเขียนเมื่อปี 2557 จากนั้นก็เป็น “คนทรงเจ้า”
(2531), “โคกพระนาง” (2532)
และมาจบเรื่องสุดท้ายคือ “จ้าวแผ่นดิน”
ในปี 2538 แล้วจะรู้สึกสนุกสนานและอิ่มเอมกับ “จ้าวแผ่นดิน”
เล่มนี้เป็นอย่างมาก
มันเหมือนกับเป็นภาคจบที่สมบูรณ์แบบและครบถ้วนกระบวนความ
แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะมีความหนาถึง 579 หน้า แต่ผมใช้เวลาเพียงแค่ 2 วันอ่านจนจบเล่ม เรียกว่า หยิบอ่านแล้ววางไม่ลงเลยทีเดียว เรื่องราวต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้สะท้อนภาพสังคมไทย
ที่ผูกติดกับความเชื่อ จนคิดว่าสิ่งนั้นคือความจริง แม้ใครจะมองว่างมงายก็ตาม
รวมทั้งยังสะท้อนถึงความโลภของมนุษย์ไม่ว่าจะมีผ้าเหลืองห่มกาย หรือ ใช้ภาพเทพเจ้านุ่งขาวหุ่มขาว
มาห่มกายไว้อย่างไรก็ตาม
ผมชอบลีลาการเขียนและการเล่าเรื่อง ที่สนุกน่าติดตามแทบทุกบรรทัด หนังสือเล่มนี้อย่างที่บอกไว้ตอนต้น ถือเป็นภาคจบของนิยาย
จตุรภาค ของนักเขียนท่านี้
หากอ่านเล่มนี้จบ เราจะเข้าใจปัญหาโครงสร้างของสังคมไทยได้ดีขึ้นมาก
แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเขียนมาแล้วกว่า 20 กว่าปี
แต่สังคมไทยก็แทบไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงที่เขียนนวนิยาย เล่มนี้เลย สำหรับผมสรุปได้ว่า “จ้าวแผ่นดิน” ถือเป็นหนังสือที่อ่านสนุก ได้ข้อคิด
และชวนติดตามแทบจะทุกตอนทุกบรรทัด
เผลอหยิบขึ้นมาอ่านแล้ว วางไม่ลงจริงๆ ครับ
(หนังสือหนา 579 หน้า ราคาปก 300 บาท พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ.2545
สยามประเทศสำนักพิมพ์)