วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หนังสือเล่มที่ 43 (ปี 2559) | จีนในกระแสโลกาภิวัตน์



หนังสือน่าอ่าน เล่มที่ 43  ที่ผมอ่านจบในปีนี้ ชื่อว่า “จีนในกระแสโลกาภิวัตน์” เขียนโดย “วรศักดิ์ มหัทธโนบล”  โดยหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมบทความของ อ. วรศักดิ์ มหัทธโนบล ที่เขียนไว้ในนิตยสารต่างๆ  เกี่ยวกับการต่างประเทศของจีน ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ตามกระแสโลกาภิวัตน์  ซึ่งรวมถึงเรื่องความสัมพันธ์ที่จีนมีกับประเทศต่างๆ ในอดีต ซึ่งส่งผลมาถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ การค้า  

อ.วรศักดิ์ เป็นนักเขียนที่สามารถอธิบายเรื่องราวยากๆ เกี่ยวกับเรื่องเมืองจีนและความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ  ให้ผู้อ่านเข้าใจได้โดยง่าย โดยส่วนตัวผมชื่นชอบงานเขียนของ อ.วรศักดิ์ แทบทุกเล่ม โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับจีน

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หนังสือเล่มที่ 42 (ปี 2559) | The Border คน พรมแดน รัฐชาติ



หนังสือน่าอ่าน เล่มที่ 42 ที่ผมอ่านจบในปีนี้ ชื่อว่า  “The Border คน พรมแดน รัฐชาติ”  เขียนโดย ยศ  สันตสมบัติ”  ในชุด  “ผลึกความรู้ : ชุดงานวิจัยฉบับเคี้ยวง่าย”  ซึ่งหนังสือชุดนี้ถือเป็นความพยายามของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่พยายามฝ่าแนวกำแพง ด้วยการแปรรูปงานวิจัยบนหอคอยงาช้าง ให้เป็นความรู้ฉบับประชาชนที่อ่านรู้เรื่องได้ง่ายๆ   โดยใช้การสัมภาษณ์ ผู้วิจัย (ศ.ดร. ยศ สัตสมบัติ) เหมือนให้ท่านเล่า เกี่ยวกับงานวิจัยของท่าน เรื่อง “อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย “

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หนังสือเล่มที่ 41 (ปี 2559) | ตราประทับ ตราประจำตัว และเครื่องรางยุคโบราณ



หนังสือน่าอ่าน เล่มที่ 41 ที่ผมอ่านจบในปีนี้ ชื่อว่า ตราประทับ ตราประจำตัว และเครื่องรางยุคโบราณ”  เขียนโดย อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ”    ซึ่งในหนังสือได้อธิบายถึงความหมายและรูปแบบของตราประทับ ตั้งแต่สมัยโบราณ และที่ค้นพบในประเทศไทยด้วย”    ซึ่งตราประทับเหล่านี้พบมากในบริเวณพื้นที่ที่เคยเป็นเมืองท่าหรือศูนย์กลรางกาครค้าขายในสมัยโบราณ เช่นที่ คลองท่อม กระบี่และที่เมืองนครปฐมโบราณ    สิ่งที่น่าสนใจคือ ตราประทับเหล้านี้สามารถทำให้เราเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ในอดีต รวมทั้งความเชื่อของผู้คนสมัยนั้นได้อีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หนังสือเล่มที่ 40 (ปี 2559) | โบกมือลา โลกาภิวัตน์



หนังสือน่าอ่าน เล่มที่ 40 ที่ผมอ่านจบในปีนี้ ชื่อว่า “โบกมือลา โลกาภิวัตน์” เขียนโดย “อนุช อาภาริรม และคณะ”  โดยหนังสือเล่มนี้ได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมวลสรุปเหตุการณ์และแนวโน้มต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระแสโลภาภิวัตน์ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยของเรา แม้ว่าเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะเป็นการบอกเล่าเหตุการณ์ตั้งแต่ปี 2543  แต่ก็ไม่ได้ตกยุคหรือล้าสมัย เพราะในอีกด้านหนึ่งกลับช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเราทุกวันนี้ได้เป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หนังสือเล่มที่ 39 (ปี 2559) | ประชาสังคม


หนังสือน่าอ่าน เล่มที่ 39 ที่ผมอ่านจบในปีนี้ ชื่อว่า ประชาสังคม” เขียนโดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์” หนังสือเล่มนี้ได้เล่าถึงความเป็นมาของ “ประชาสังคม” ในมุมมองของนักคิดตะวันตก   จะว่าไปแล้ว ประชาสังคมนั้นอยู่คู่กับสังคมโลกเรามาตั้งแต่อดีตกาล แต่ด้วยการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้ประชาสังคมได้ถูกลดบทบาทลง  อย่างไรก็ตามผู้เขียนมองว่า ประชาสังคมถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญเป็น 1 ใน 4 เสาหลักของประเทศ อันประกอบ ไปด้วย รัฐบาล  องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคเอกชน และ “ประชาสังคม”

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หนังสือเล่มที่ 38 (ปี 2559) | รัฐ-ชาติ กับ (ความไร้) ระเบียบโลกชุดใหม่



หนังสือน่าอ่าน เล่มที่ 38 ที่ผมอ่านจบในปีนี้ ชื่อว่า รัฐ-ชาติ กับ (ความไร้) ระเบียบ โลกชุดใหม่”  เขียนโดย ดร.ไชยรัตน์  เจริญสินโอฬาร”   หนังสือเล่มนี้ได้เล่าถึงกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ขององค์กรต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ตัวแสดงนอกภาครัฐ เช่น NGO และ เครือข่าย แนวร่วมต่างๆ ที่กำลังทวีบทบาทมากขึ้น ในการกำหนดนโยบายสาธารณะของแต่ละรัฐ  นอกจากนั้นยังทำให้พรมแดนระหว่างรัฐ หรือ ข้อกำหนดความเป็นรัฐ-ชาติ ที่เคยมีมานานกว่า 3 ศตวรรษ ได้เลือนหายหรือลดน้อยลงไป  ส่วนหนึ่งมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้โลกใบนี้มีความกระชับและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น  ดังนั้นการเคลื่อนไหวในระดับท้องถิ่น ก็กลับกลายเป็นความเคลื่อนไหวและส่งผลกระทบในระดับโลกได้ไม่ยากนักในยุคนี้

หนังสือเล่มที่ 3 (ปี 2562) กว่าจะฝ่าข้ามความตาย

หนังสือ กว่าจะฝ่าข้ามความตาย ของ หมอวิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ   เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวในคุกบางขวาง ซึ่งเป็นคุกสำหรับนักโทษประหาร  ...