หนังสือน่าอ่าน เล่มที่ 38 ที่ผมอ่านจบในปีนี้ ชื่อว่า “รัฐ-ชาติ กับ (ความไร้) ระเบียบ โลกชุดใหม่” เขียนโดย “ดร.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร” หนังสือเล่มนี้ได้เล่าถึงกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ขององค์กรต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ตัวแสดงนอกภาครัฐ เช่น NGO และ เครือข่าย แนวร่วมต่างๆ ที่กำลังทวีบทบาทมากขึ้น ในการกำหนดนโยบายสาธารณะของแต่ละรัฐ นอกจากนั้นยังทำให้พรมแดนระหว่างรัฐ หรือ ข้อกำหนดความเป็นรัฐ-ชาติ ที่เคยมีมานานกว่า 3 ศตวรรษ ได้เลือนหายหรือลดน้อยลงไป ส่วนหนึ่งมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้โลกใบนี้มีความกระชับและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเคลื่อนไหวในระดับท้องถิ่น ก็กลับกลายเป็นความเคลื่อนไหวและส่งผลกระทบในระดับโลกได้ไม่ยากนักในยุคนี้
หนังสือ “รัฐ-ชาติ กับ (ความไร้) ระเบียบโลกชุดใหม่”
เป็นหนังสือที่อ่านง่าย อ่านสนุก สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อโลกใบนี้
ท่านจะได้เห็นอีกมุมหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวที่อาศัยโลกาภิวัตน์
ในการต่อต้านโลกาภิวัตน์ด้วย ต้องยอมรับว่า ผู้เขียน เป็นผู้ที่มีมุมมองลึกซึ้งกว้างขวางและค้นคว้ามาอย่างละเอียด การเรียบเรียงและการนำเสนอ
ข้อมูลต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ ก็ทำออกมาได้ดีมาก อ่านแล้วลื่นไหล ไม่เหมือนเป็นตำราวิชาการ
แต่เหมือนฟังเรื่องราวที่เล่าได้อย่างสนุกสนานเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้ได้แง่คิดมุมมองใหม่ๆ อีกมากมาย ถือเป็นหนังสือที่ดีมากๆ อีกเล่มหนึ่ง
ในฐานะที่เป็นคนสนใจทั้งเทคโนโลยีและการเมืองการปกครอง ผมจึงรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้
เพราะช่วยเปิดมุมมองของผมเกี่ยวกับ ผลกระทบของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการเมืองการปกครองระหว่างประเทศ
ให้กว้างขวางขึ้นอีกมาก
(หนังสือหนา 308 หน้า ราคาปก 290 บาท พิมพ์ครั้งที่ 2 ธันวาคม 2553 สำนักพิมพ์วิภาษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น