หนังสือน่าอ่าน เล่มที่ 22 ที่ผมอ่านจบในปีนี้ ชื่อว่า ศึกษารัฐไทย ย้อนสภาวะไทยศึกษา เขียนโดย “ เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน ”ผู้ซึ่งเป็นนักวิชาการที่มีความสนใจในเรื่องของอินโดนีเซียศึกษา จนกระทั่งโดนสั่งแบนห้ามเข้าประเทศ ทำให้เขาหันมาสนใจเรื่องไทยศึกษา เพราะในช่วงที่เขาสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย คอร์แนล เป็นช่วงที่ปัญญาชนไทยรุ่น 1960 เดินทางไปศึกษาต่อ ทำให้เขาสามารถค้นคว้าเกี่ยวกับการเมืองไทย ทั้งจากเอกสารและการพูดคุยกับนักศึกษาในรุ่นนั้น ซึ่งเป็นผู้ผ่านเหตุการณ์เดือนตุลามาด้วยตนเอง
หนังสือเล่มนี้
มีทั้งหมด 9 บท โดยความน่าสนใจของเนื้อหาคือ การเปรียบเทียบปรากฏการณ์ต่างๆ
ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย กับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ
ทำให้เราเห็นบริบท ต่างๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอิทธิพลของลัทธิอาณานิคม
ที่ส่งผลกระทบมาถึงปัญหาการเมืองในปัจจุบันของหลายๆ ประเทศในแถบนี้
และความที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใครอย่างประเทศไทย ก็นำมาซึ่งปัญหาในอีกรูปแบบหนึ่ง
ซึ่ง เบน วิเคราะห์ไว้ได้อย่างน่าสนใจมาก
หนังสือเล่มนี้
ถือเป็นหนังสืออีกเล่มที่ผมอ่านแล้วชอบมากที่สุดในปีนี้ ผู้เขียน มีมุมมองและความคิดที่ลึกซึ้ง
และการนำเสนอที่ทำให้เราได้เห็นอีกมุมที่แตกต่างกันออกไป และที่จะต้องปรบมือให้ คือ
บรรดานักแปลที่มาร่วมกันแปลหนังสือเล่มนี้
เพราะล้วนแล้วแต่มีความสามารถในการแปลอย่างสูง ทำให้เนื้อหาที่แปลออกมาเป็นภาษาไทย
นั้น อ่านเข้าใจง่ายและสนุกสนานได้ความรู้เป็นอย่างมาก ครับ
(หนังสือหนา 280 หน้า ราคาปก 350 บาท พิมพ์ครั้งแรก 2558 สำนักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น